Ticker

6/recent/ticker-posts

ดูแบบ P&ID ก็รู้ว่ามี Loop Control อะไรบ้าง? และควบคุมอย่างไร?



ดูในแบบ P&ID ก็ทำให้เรารู้และเข้าใจ Loop Control ที่อยู่ในกระบวนการ

เราสามารถรู้ได้ว่า กระบวนการที่อยู่ในแบบ P&ID นั้นมีลูปคอนโทรลอะไรบ้าง และมีอุปกรณ์ในการวัดและควบคุมอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้เลยครับ

    P&ID หรือ Piping and Instrumentation Diagram เป็นแบบในอุตสาหกรรมที่อธิบายถึงผังระบบท่อ อุปกรณ์ต่อพ่วง และเครื่องมือวัดภายในโรงงาน ทำให้เราเข้าใจกระบวนการ หรือการไหลของวัตถุดิบไปการเครื่องจักรต่างๆ และอีกสิ่งหนึ่งที่แบบ P&ID ได้เขียนกำกับไว้ด้วยนั้นคือ ลูบคอนโทรล (Loop Control) เพื่อให้ได้ทราบถึงรูปแบบหรือตัวแปรในการควบคุมในกระบวนการในส่วนนั้น


สัญลักษณ์มากมายที่อยู่ในแบบP&ID

อย่างที่ทราบ แบบP&ID นั้นประกอบไปด้วยสัญลักษณ์มากมายที่ถูกเขียนเพื่อทดแทนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์นั้นๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น สัญลักษณ์ไลน์ท่อ สัญลักษณ์ของปั้ม สัญลักษณ์ถังบรรจุ สัญลักษณ์วาล์ว สัญลักษณ์เครื่องมือวัด



สัญลักษณ์ทางเครื่องมือวัด


สัญลักษณ์ทางเครื่องมือวัด จะเป็นสัญลัษณ์วงกลม (Bubbles) ที่ภายในวงกลมจะมีตัวอักษรย่อที่สื่อความหมายถึงเครื่องมือวัดนั้นๆ ประกอบไปด้วยส่วนแรกที่บอกถึงตัวแปรที่ต้องการวัด ส่วนที่สองคือฟังก์ชันในการวัด เช่น

PT : Pressure Transmitter

ตัวส่วนแรก P คือ Pressure การวัดความดัน
ตัวส่วนสอง T คือ Transmitter ตัวแปลงสัญญาณทางเครื่องมือวัด

TI : Temperature Indicator

ตัวส่วนแรก T คือ Temperature การวัดอุณภูมิ
ตัวส่วนสอง I คือ Indicator ตัวแสดงผลบนหน้าปัด

FIC : Flow Indicator Controller

ตัวส่วนแรก F คือ Flow การวัดอัตราการไหล
ตัวส่วนสอง I และ C คือ Indicator and Controller เป็นตัวแสดงผลบนหน้าปัดและยังเป็นตัวคอนโทรลเลอร์เพื่อควบคุมกระบวนการด้วย

>>ขอแนะนำ คอร์สออนไลน์ เริ่มต้นการอ่านแบบ P&ID สนใจรายละเอียดคลิก




เส้นสัญลักษณ์ Instrument Connection

อุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงาน จำเป็นต้องการติดต่อสื่อสารรวมกัน เพื่อสามารถส่งคำสั่ง หรือเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ได้อย่างถูกต้อง ในงานเครื่องมือวัดเองก็มีรูปแบบของสัญญาณในการสื่อสารเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น รูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า สามารถส่งสัญญาณในคำสั่ง on-off (digital) หรือสัญญาณแบบต่อเนื่องอนาล็อค (Analog) ได้

ลิงค์คลิปเพิ่มเติมเรื่องสัญญาณ 4-20 mA 
ลิงค์คลิป อธิบายสัญลักษณ์ instrument connection 




Instrument Signal การลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์


อุปกรณ์ในระบบเครื่องมือวัดที่ถูกนำมายังระบบควบคุม จะถูกลากเส้นเชื่อมต่อกันด้วยสัญลักษณ์ Instrument Connection เพื่อส่งสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณมาตรฐาน ทั้งสัญญาณค่าที่วัดได้ และสัญญาณที่นำไปควบคุมอุปกรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ

Primary Element

อุปกรณ์ส่วนแรก จะเป็นเครื่องมือวัดอุตหสากรรม ที่ทำการวัดค่าในกระบวนการในตัวแปรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ ความดัน อัตราการไหล ระดับ เป็นต้น และส่งสัญญาณมาอยู่ในรูปของสัญญาณมาตรฐาน ไปยังอุปกรณ์ควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์(Controller)

Final Element

อุปกรณ์ตัวสุดท้าย จะเป็นอุปกรณ์ที่มีสามารถกระทำกับกระบวนการและส่งผลให้ค่าตัวแปรในกระบวนการเปลี่ยนแปลง เช่น คอนโทรลวาล์ว ที่การเปิด - ปิด นั้นส่งผลต่อค่าอัตราการไหลของของไหลที่อยู่ในท่อ โดยจะนำสัญญาณคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์ ที่ทำการประมวลผลจากค่าที่วัดได้ และนำมาควบคุมตัวคอนโทรลวาล์ว เพื่อให้กระบวนการอยู่ในค่าที่ต้องการ

รวมกัน เป็น ลูปคอนโทรล

เมื่อครบองค์ประกอบทั้งหมดนี้ เราจะเรียกว่า “ลูปคอนโทรล” Loop Control ซึ่ง บางลูปคอนโทรล อาจจะมี Primary Element และ Final Element มากกว่าอย่างละ 1 ตัวได้ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป และมีความซับซ้อนมากขึ้นตามแต่ละกระบวนการที่ต้องการการควบคุม

สรุป ลูปคอนโทรลที่อยู่ใน แบบ P&ID

เข้าใจสัญลักษณ์ทางๆ ที่อยู่ในแบบ P&ID โดยเฉพาะสัญลักษณ์ทางเครื่องมือวัดและสัญญาณทางเครื่องมือวัด ทำให้เราเห็นเส้นที่ลากโยงเข้าหากัน หมายถึง อุปกรณ์เหล่านั้นมีการเชื่อมต่อไปยังระบบควบคุม ทำให้เราทราบได้ว่า เช่น เป็นกระบวนการควบคุมอุณหภูมิ เป็นกระบวนการควบคุมความดัน เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบหลักมีสองส่วนหลักๆ คือ
  • Primary Element ส่วนของเครื่องมือวัด
  • Controller ส่วนอุปกรณ์ควบคุมตัดสินใจตามเงื่อนไข
  • Final Element ส่วนของควบคุมที่ส่งผลต่อค่าตัวแปรในกระบวนการ เช่น คอนโทรลวาล์ว

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

คลิป ทำความเข้าใจคอนโทรลเลอร์ PLC หรือ DCS
คลิป อธิบายเพิ่มเติมการทำงานคอลโทรลวาล์ว

แนะนำคอร์สเรียน

คอร์สออนไลน์ เริ่มต้นการอ่านแบบ P&ID สนใจรายละเอียดคลิก

ช่องทางติดตาม

Facebook เด็กช่างวัด
Youtube เด็กช่างวัด
Tiktok เด็กช่างวัด

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น