โรงงานประกอบไปด้วยเครื่องจักรมากมาย
เป้าหมายของโรงงานอุตสาหกรรมแทบทั้งสิ้นล้วนแล้วแต่ต้องการผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โดยความพร้อมของทางโรงงานเองนั้นจะต้องสามารถผลิตสินค้าเมื่อใดก็ได้ แม้กระทั่งอยู่ระหว่างเดินระบบกระบวนการผลิต เครื่องจักรต้องไม่มีการเกิดเหตุขัดข้องให้ต้องหยุดกระทันหันแบบทันทีทันใด เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการที่โรงงานเดินระบบกระบวนการผลิต เครื่องจักรจะมีการทำงานตลอดเวลา โดยเฉพาะเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนที่เช่น มอเตอร์ ปั้ม พัดลม ซึ่งเสื่อมสภาพหรือเกิดการสึกหรอของเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้ง่าย นั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องมีการบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องนั่นเอง
เป้าหมายสำคัญของการบำรุงรักษา
เมื่อเครื่องจักรถูกใช้งานในการผลิตสินค้า ส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมสภาพได้ เป้าหมายของการบำรุงรักษานั้นก็เพื่อ รักษาสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานมากที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประสิทธิภาพกำลังผลิตของโรงงาน เพราะเครื่องจักรมีประสิทธิภาพช่วย
- ลดอัตราความเสียหาย ที่อาจจะเกิดจากเครื่องจักรมีปัญหาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโรงงานที่มีระบบควบคุมอัตโนมัติ หากเกิดเครื่องจักรขัดข้องต้องหยุดกระบวนการผลิต ส่งผลเสียต่อคุณภาพของสินค้าอย่างแน่นอน
- ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้ยาวนานยิ่งขึ้น เพราะทุนต้นสำคัญของโรงงานคือเครื่องจักรและอุปกรณ์ หากสามารถใช้งานได้ยาวนานความคุ้มทุนของโรงงานนั้นก็สูงขึ้นตามไปด้วย รวมถึงการดูแลรักษาดีช่วยให้ลดเรื่องของอะไหล่ในการซ่อมเครื่องจักรด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของแผนกซ่อมบำรุง
หน้าที่ของแผนกซ่อมบำรุงจะแปรเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของบริษัท ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท ขนาดและชนิดของโรงงาน รวมถึงทักษะของแรงงานโดยทั่วๆ ไปที่ต้องการ โดยจะมีความเชี่ยวชาญของบุคลากรแตกต่างกัน เช่น ด้านเครื่องกล ด้านไฟฟ้า ด้านเครื่องมือวัด เป็นต้น อาจจะมีตั้งแต่ระดับช่างซ่อมบำรุง หัวหน้าช่าง และวิศวกร อยู่ในหน่วยงานของแผนกซ่อมบำรุง ที่คอยทำงานประสานกัน เพื่อให้การดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
วางแผนงานในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
หน้าที่และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแผนกซ่อมบำรุงเริ่มตั้งแต่การวางแผนในการซ่อมบำรุง ตั้งแต่เตรียมนโยบายสำหรับแผนกบำรุงรักษา และต้องมีการประสานงานกับฝ่ายผลิตในเรื่องการจัดตารางงานบำรุงรักษาเพื่อไม่ให้กระทบต่อกระบวนการผลิต โดยจะมีทั้งการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตามระยะเวลาที่กำหนดซี่งอาจได้มาจากประสบการณ์หรือคู่มือการใช้งานของเครื่องจักรนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเกิด Breakdown หรือแม้แต่การวางแผนซ่อมบำรุงประจำปี เมื่อเครื่องจักรหยุดกระบวนการผลิตตามแผน
กำหนดมาตรฐานงานบำรุงรักษา
ในแผนกซ่อมบำรุงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานงานบำรุงรักษาและวิธีการบำรุงรักษา เพื่อนำไปฝึกอบรมบุคคลากรในแผนกในการใช้อุปกรณ์และวิธีการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรให้คงสภาพพร้อมใช้งาน เช่น การใช้เครื่องมือวัดค่าความสั่นสะเทือนมอเตอร์ เพื่อใช้วิเคราะห์เครื่องจักรหาสาเหตุในความผิดปกติ เป็นต้น
จัดเตรียมอะไหล่ให้เหมาะสม
เครื่องจักรที่ใช้งานอยู่ตลอดอาจจะมีเสื่อมสภาพสึกหรอ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่ตามรอบ หรือตามเหตุขัดข้องเสียหาย ทำให้ต้องมีจัดเตรียมอะไหล่ให้เหมาะสม โดยหน้าที่ของการจัดการด้านอะไหล่ในงานซ่อมบำรุงนั้นแผนกซ่อมบำรุงมีหน้าที่รับผิดชอบคาดคะเนความต้องการในด้านการใช้อะไหล่ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันว่าเพียงพอหรือไม่ ทั้งชิ้นส่วนมาตรฐานและอะไหล่เฉพาะของเครื่องจักร เพื่อทำการสั่งซื้อ โดยพิจารณาตัดสินใจด้านข้อมูลทางเทคนิค หรือแม้แต่การกำหนดลงรหัสของอะไหล่ เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น ทั้งนี้ต้องมีการประสานการทำงานร่วมกับแผนกจัดซื้อเพื่อช่วยในการตัดสินใจในเชิงพาณิชย์ การสั่งซื้อและติดตามดำเนินงานการสั่งซื้อให้สำเร็จ
รับใบแจ้งซ่อม และดำเนินการแก้ไข
เมื่อเครื่องจักรเกิดมีปัญหาขัดข้องไม่สามารถทำงานได้ ทางผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตจะทำการแจ้งซ่อมมายังแผนกซ่อมบำรุง ซึ่งวิธีการแจ้งอาจจะแตกต่างกันตามแต่ละโรงงานมีทั้งการออกแบบเอกสารใบแจ้งซ่อม หรือแม้แต่การแจ้งผ่านระบบในคอมพิวเตอร์ แผนกซ่อมบำรุงมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุ และทำการแก้ไขให้เครื่องจักรสามารถกลับมาทำงานได้ปกติดังเดิม รวมถึงหาแนวทางป้องกันเพื่อลดการเกิดปัญหาเครื่องขัดข้องอีกด้วย
การบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เป็นการบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition-Based Maintenance)
นอกจากการบำรุงรักษาตามรอบระยะเวลาแล้ว หรือแม้แต่การแก้ไขซ่อมแซมเครื่องจักรเมื่อเกิดเหตุปัญหาขัดข้องจนเครื่องจักรไม่สามารถทำงานได้แล้วนั้น อีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของงานซ่อมบำรุงคือการการบำรุงรักษาตามสภาพ หรือ Condition-Based Maintenance
Condition-Based Maintenance คือ ระบบการบำรุงรักษาตามการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนอะไหล่ ถ้าเครื่องจักรเสื่อมสภาพและมีอาการผิดปกติ สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัดค่าความสั่นสะเทือน เพื่อวิเคราะห์ค่าออกมา และหาว่าอะไหล่ส่วนใดเสื่อมสภาพ หรือมีความผิดปกติอย่างไร ทำให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้ตรงจุด
โดยการบำรุงรักษาตามสภาพนั้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายต้นทุนด้านอะไหล่ให้โรงงาน เพราะสามารถใช้เครื่องจักรจนถึงจุดซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอะไหล่ในระยะเวลาที่คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง
แต่การบำรุงรักษาตามสภาพต้องมีการลงทุนซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือวัด หรือติดตั้งระบบเครื่องมือวัด เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์ได้สะดวก รวดเร็ว และตรงจุด โดยวิธีที่แพร่หลายคือใช้เครื่องมือวัดค่าความสั่นสะเทือน และอุณหภูมิพื้นผิว ติดตั้งกับอุปกรณ์เครื่องจักรภายในโรงงาน รวมถึงระบบที่ช่วยบันทึกค่าการวัดและแสดงผลจากข้อมูลที่วัดได้ ทั้งนี้การแสดงผลก็มีทั้งตรวจสอบข้อมูลอย่างง่าย และการแปรผลเชิงลึกที่อาจจำเป็นต้องมีพนักงานที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ค่าที่วัดได้ เพื่อทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้นนั่นเอง
ชุดอุปกรณ์ตรวจวัด Condition Monitoring Starter Kit ของทาง Murata
โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรประเภท Rotary Machine เช่น ชุดมอเตอร์ขับ ชุดปั้มต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานดูแลเครื่องจักรก็จะมีการตรวจสอบค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร และทำการจดบันทึกลงแบบฟอร์ม หรือนำค่าที่วัดได้นั้นไปเปรียบเทียบในตารางขอบเขตของค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรตามขนาดกำลังวัตต์ เพื่อบ่งบอกสภาพว่าเครื่องจักรปกติหรือเข้าสู่สภาวะเสี่ยง ถ้าเกินค่าในตาราง (อ้างอิง ISO 10816-3) หรือค่าที่เราตั้งไว้ ก็ให้ช่างเข้าทำการตรวจสอบและแก้ไข ก่อนที่เกิดความเสียหายแก่เครื่องจักร
ชุดอุปกรณ์ตรวจวัด Condition Monitoring Starter Kit ของทาง Murata ช่วยให้การวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรภายในโรงงานของเราง่าย สะดวก และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีในการตรวจวัดค่าความสั่นสะเทือน (Vibration Sensor) และขนาดของเซ็นเซอร์ที่เล็ก ทั้งยังเป็นอุปกรณ์ไร้สาย ทำให้ติดตั้งง่าย เชื่อมต่อผ่านระบบไร้สายคลื่นความถี่ 920 MHz ช่วยให้งานวิเคราะห์ความพร้อมใช้งานของเครื่องจักรทำได้ทันที หรือแม้แต่การแจ้งเตือนเมื่อเกิดความผิดปกติให้ทราบเพื่อเร่งดำเนินการแก้ไข ก่อนที่เครื่องจักรของเราจะได้รับความเสียหายรุนแรง
Wireless Sensing Solution จากทางมูราตะ
เซ็นเซอร์วัดกระแสจากทางมูราตะ และอุปกรณ์เซ็นเซอร์ไร้สายตัวอื่นๆ ที่มีทั้ง
- เซ็นเซอร์วัดค่าความสั่นสะเทือนแบบไร้สาย (Wireless Vibration Sensor) ช่วยวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร และตรวจจับแนวโน้มการเกิดความผิดปกติก่อนที่จะสายเกินไป
- เซ็นเซอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าแบบไร้สาย (Wireless Current Sensor) ช่วยในเรื่องการตรวจวัดปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า และเฝ้าระวังความผิดปกติทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ต้นกำลังในโรงงาน
- เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Temperature Humidity sensor) ช่วยในเรื่องเฝ้าระวังการรักษาอุณหภูมิและความชื้นของสภาพแวดล้อมในการผลิต เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์
สามารถนำไปใช้งานเพื่อที่จะลดปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากรแรงงานในส่วนของงานบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักรในโรงงานได้เป็นอย่างดี
หากสนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ทาง
Website : https://bit.ly/3TiY05n
Line : https://bit.ly/3F4oL9g
หรือติดต่อกับทางมูราตะโดยตรง
คุณณัฐกานต์ ปันส่งเสริม (แอน)
นักพัฒนาธุรกิจ
โทร: 081-923-3462
อีเมล: nattakarn.h@murata.com
คุณธนพร คุณากรเรืองกิจ (พลอย)
เจ้าหน้าที่บริหารงานขายและการตลาด
โทร: 063-125-6151
อีเมล: thanaporn.kunakornruengkit@murata.com
คุณพงศ์พัศ ธงชัย (เมฆ)
วิศวกรฝ่ายขาย
โทร: 081-132-4462
อีเมล: pongpat.thongchai@murata.com
0 ความคิดเห็น